Site icon SDG Move

ประชุม BIMSTEC ครั้งที่ 6 “รุ่งเรือง ยืดหยุ่น เปิดกว้าง” มีประเด็นใดน่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนบ้าง

เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยสำหรับการประชุมผู้นำความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (The Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation : BIMSTEC) ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 – 4 เมษายน 2568 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้นำและผู้แทนสมาชิก BIMSTEC จากอินเดีย เนปาล ภูฏาน ศรีลังกา เมียนมา บังกลาเทศ เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น ถกสนทนาถึงแนวทางการขับเคลื่อนสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง

การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ถูกหยิบนำมากล่าวถึงในการประชุมครั้งนี้ โดยมีการออกแบบแนวทางและการตกลงร่วมกันที่จะหนุนเสริม ขับเคลื่อน และเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาที่ครอบคลุมหลากหลายมิติ เช่น 

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความทะเยอทะยานและมุ่งมั่นร่วมกันที่จะแก้ไขและพัฒนาประเด็นที่หลากหลายทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ ความมั่นคง และสิ่งแวดล้อม แต่ก็มีความกังวลว่าการประชุมครั้งนี้จะเป็นพื้นที่ให้รัฐบาลทหารเมียนมาฟอกขาวจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่รุนแรงในประเทศ โดยกลุ่มภาคประชาสังคมในระดับภูมิภาคและระดับสากลจึงต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและผู้นำบิมสเทคแสดงจุดยืนคัดค้านผู้นำทหารที่ผิดกฎหมายและการก่ออาชญากรรมระดับสากลของพวกเขา ด้วยการไม่ให้ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา รวมถึงตัวแทนทุกคนของกองทัพเมียนมา หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง เข้าร่วมการประชุม 

ขณะที่ รัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน หรือ เอพีเอชอาร์ (ASEAN Parliamentarians for Human Rights – APHR) ซึ่งเป็นเครือข่ายระดับภูมิภาคของสมาชิกรัฐสภาทั้งในอดีตและปัจจุบันจากประเทศต่าง ๆ ของอาเซียน ได้ออกแถลงการณ์ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นทั้งหนึ่งในผู้ก่อตั้งบิมสเทคและเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งนี้ ไทยควรมีจุดยืนตามหลักการและปฏิเสธการมีส่วนร่วมของรัฐบาลทหาร เนื่องจาก “การอนุญาตให้ระบอบการปกครองของกองทัพนั่งอยู่บนโต๊ะ ไม่เพียงทำให้การปกครองที่โหดร้ายถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของบิมสเทคในฐานะองค์กรระดับภูมิภาคที่มุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนา”

จึงน่าสนใจว่าความร่วมมือพหุภาคีที่มีเป้าหมายจะขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศสมาชิกให้รุ่งเรือง ยืดหยุ่น และเปิดกว้าง จะจัดการกับ “การละเมิดสิทธิมนุษยชน” ซึ่งเป็นก้างชิ้นโตไปพร้อมกับการเร่งรัดจัดการประเด็นสำคัญอื่น ๆ ทั้งการเสริมเสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การตั้งรับปรับตัวต่อภัยพิบัติ และการกระตุ้นการเติบโตเศษฐกิจได้อย่างไร

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
 SDG Updates | สรุปประเด็นสำคัญ รายงานความก้าวหน้า SDGs ของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ปี 2568
 ภาครัฐไทยกับการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 พร้อมส่องแนวทางการจัดการจากต่างประเทศในยุคมลพิษทางอากาศ
 สรุปท่าทีของไทยในการประชุม UNGA 79 ชูประเด็นนโยบายความยั่งยืน -พร้อมเป็นสะพานเชื่อมความร่วมมือ
 อินเดียวางแผนเป็นผู้ผลิตพลังงานไฮโดรเจนสีเขียว 5 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573
 ศาลฎีกาของอินเดียเร่งให้ฝ่ายบริหารเมืองเดลียื่นแผนการลดระดับมลพิษทางอากาศ เพราะปัญหาหมอกควันเป็น ‘ภาวะฉุกเฉิน’
 วิกฤติทางการเมืองในเมียนมาทำให้ประชากรอีก 3.4 ล้านคนต้องเผชิญกับ ‘ความหิวโหย’
 เผยแพร่แล้ว! รายงานสิทธิมนุษยชนประจำปี 2567 – Human Rights Watch ชี้การปราบปรามโดยรัฐในเอเชียเพิ่มขึ้น กังวลระบอบประชาธิปไตยยังคงถูกทำลาย

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
– (3.3) ยุติการแพร่กระจายของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำและโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573
– (3.d) เสริมขีดความสามารถของทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนา ในด้านการแจ้งเตือนล่วงหน้า การลดความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
– (5.5) สร้างหลักประกันว่าผู้หญิงจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิผล และมีโอกาสที่เท่าเทียมในการเป็นผู้นำในทุกระดับของการตัดสินใจในเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสาธารณะ
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
– (8.3) ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่มีคุณค่า ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัฒกรรม และให้การสนับสนุนการรวมตัวและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ผ่านการเข้าถึงบริการทางการเงิน
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม และนวัตกรรม
– (9.1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ยั่งยืนและมีความต้านทานและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาคและที่ข้ามเขตแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์
– (9.a) อำนวยความสะดวกการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่น ในประเทศกำลังพัฒนาผ่านทางการยกระดับการสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยีและด้านวิชาการให้แก่ประเทศในแอฟริกา ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นหมู่เกาะขนาดเล็ก
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
– (10.3) สร้างหลักประกันถึงโอกาสที่เท่าเทียมและลดความไม่เสมอภาคของผลลัพธ์ รวมถึงโดยการขจัดกฎหมาย นโยบาย และแนวทางปฏิบัติที่เลือกปฏิบัติ และส่งเสริมการออกกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าว
#SDG11 เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
– (11.6) ลดผลกระทบทางลบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากรรวมถึงการให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศและการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
– (13.1) เสริมภูมิต้านทานและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ
– (13.2) บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการวางแผนระดับชาติ
#SDG14 ทรัพยากรทางทะเล
#SDG16 ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง 
– (16.1) ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตายที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
– (16.2) ยุติการข่มเหง การแสวงหาประโยชน์อย่างไม่ถูกต้อง การค้ามนุษย์ และความรุนแรงและการทรมานทุกรูปแบบที่มีต่อเด็ก
– (16.3) ส่งเสริมหลักนิติธรรมทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ และสร้างหลักประกันว่าทุกคนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม
– (16.4) ลดการลักลอบเคลื่อนย้ายอาวุธและเงิน เสริมความแข็งแกร่งของกระบวนการติดตามและการส่งคืนสินทรัพย์ที่ถูกขโมยไป และต่อสู้กับอาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรทุกรูปแบบ ภายในปี พ.ศ. 2573
– (16.10) สร้างหลักประกันว่าสาธารณชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและมีการปกป้องเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมายภายในประเทศและความตกลงระหว่างประเทศ
– (16.a) เสริมความแข็งแกร่งของสถาบันระดับชาติที่เกี่ยวข้อง โดยรวมถึงกระทำผ่านทางความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อสร้างขีดความสามารถในทุกระดับ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อจะป้องกันความรุนแรงและต่อสู้กับการก่อการร้ายและอาชญากรรม
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.11) เพิ่มส่วนแบ่งการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนาให้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมุ่งเพิ่มส่วนแบ่งของประเทศพัฒนาน้อยที่สุดในการส่งออกทั่วโลกให้สูงขึ้น 2 เท่าในปี พ.ศ. 2563
– (17.13) เพิ่มพูนเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาคของโลก โดยรวมถึงผ่านทางการประสานงานนโยบายและความสอดคล้องเชิงนโยบาย
– (17.14) ยกระดับความสอดคล้องเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
– (17.16) ยกระดับหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่วมเติมเต็มโดยหุ้นส่วนความร่วมมือจากภาคส่วนที่หลากหลายซึ่งจะระดมและแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญเทคโนโลยี และทรัพยากรทางการเงิน เพื่อจะสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา
– (17.17) สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาครัฐ-ภาคเอกชน และประชาสังคม สร้างบนประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านทรัพยากรของหุ้นส่วน

แหล่งที่มา 
เปิด “วิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2030″ นายกฯแพทองธาร ประธานการประชุมผู้นำ BIMSTEC ครั้งที่ 6 กล่าวถ้อยแถลงกระชับความร่วมมือร่วมกันสร้างภูมิภาคที่เจริญรุ่งเรืองและเปิดกว้าง (รัฐบาลไทย)
จับตาไทยเชิญ มิน อ่อง หล่าย ร่วมประชุม BIMSTEC ช่วยฟอกขาวรัฐบาลทหารเมียนมาหรือไม่ ? (BBC News)

Author

  • Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

Exit mobile version