ชวนสำรวจ SDG Profile 15 จังหวัดนำร่องของไทยพัฒนาได้ยั่งยืนแค่ไหน EP.3 (นครราชสีมา – อุบลราชธานี – อุดรธานี) 

การขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้แนวคิด “SDG Localization” นับว่าเป็นแนวทางที่ได้รับความนิยมและถูกนำมาปรับใช้ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้วยกระบวนการที่ครอบคลุม คำนึงถึงคนทุกกลุ่ม และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นจึงช่วยหนุนเสริมให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าสนใจ ตอบโจทย์ และตรงตามความต้องการพัฒนาของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง

“รายงานความก้าวหน้าของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระดับจังหวัด” (Provincial SDG Progress Report) หรือ SDG Profile นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามระหว่างภาครัฐของไทยและองค์การระหว่างประเทศ โดย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) นำ SDG Localization มาปรับใช้ ส่องขยาย และฉายภาพการพัฒนาระดับท้องถิ่น ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพยุโรปและกระทรวงมหาดไทย โดยปี 2567 ที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่ความก้าวหน้าการพัฒนาที่ยั่งยืนของ 15 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน นครราชสีมา นราธิวาส ปัตตานี เพชรบุรี ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี ตาก อุบลราชธานี อุดรธานี และยะลา 

SDG Recommends ฉบับนี้ ชวนสำรวจความก้าวหน้าในการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดนครราชสีมา อุบลราชธานี และ อุดรธานี ซึ่งมีความก้าวหน้าในการขับเคลื่อน SDGs ร่วมกันที่น่าสนใจ โดยเฉพาะ SDG 8 SDG 11 SDG 12 SDG 13 SDG 16 และ SDG 17 ขณะที่ SDG 15 เป็นเป้าหมายที่มีความน่ากังวลมากที่สุด 

ภาพรวมการพัฒนาที่ยั่งยืนจังหวัดนครราชสีมา เช่น 

  • การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของนครราชสีมา ทั้งสิ้น 160 ข้อ พบว่ามี 57 ข้อ ที่สามารถติดตามและประเมินผลโดยเปรียบเทียบกับค่าของประเทศได้ 
  • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของนครราชสีมา ที่มีการดำเนินงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ ได้แก่ SDG 3 (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) SDG 7 (พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้) SDG 8 (งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ) SDG 10 (ลดความเหลื่อมล้ำ) SDG 11 (เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน) SDG 12 (การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน) SDG 13 (การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) SDG 16 SDG (ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง) 17 (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
  • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของนครราชสีมา ที่มีการดำเนินงานต่ำกว่าเฉลี่ยประเทศมาก ได้แก่ SDG 2 (ยุติความหิวโหย) และ SDG 15 (ระบบนิเวศบนบก) 

ภาพรวมการพัฒนาที่ยั่งยืนจังหวัดอุบลราชธานี เช่น 

  • การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของอุบลราชธานี ทั้งสิ้น 160 ข้อ พบว่ามี 54 ข้อ ที่สามารถติดตามและประเมินผลโดยเปรียบเทียบกับค่าของประเทศได้ 
  • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของอุบลราชธานี ที่มีการดำเนินงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ ได้แก่ SDG 7 (พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้) SDG 8 (งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ) SDG 11 (เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน) SDG 12 (การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน) SDG 13 (การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) SDG 16 (ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง) และ SDG 17 (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
  • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของอุบลราชธานี ที่มีการดำเนินงานต่ำกว่าเฉลี่ยประเทศมาก ได้แก่ SDG 9 (อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน) และ SDG 15 (ระบบนิเวศบนบก)

ภาพรวมการพัฒนาที่ยั่งยืนจังหวัดอุดรธานี เช่น 

  • การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของอุดรธานี ทั้งสิ้น 160 ข้อ พบว่ามี 54 ข้อ ที่สามารถติดตามและประเมินผลโดยเปรียบเทียบกับค่าของประเทศได้ 
  • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของอุดรธานี ที่มีการดำเนินงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ ได้แก่ SDG 1 (ยุติความยากจน) SDG 3 (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) SDG 8 (งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ) SDG 11 (เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน) SDG 12 (การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน) SDG 13 (การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) SDG 16 SDG (ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง) 17 (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
  • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของอุดรธานี ที่มีการดำเนินงานต่ำกว่าเฉลี่ยประเทศมาก ได้แก่ SDG 7 (พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้) SDG 9 (อุตสาหกรรม นวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐาน) และ SDG 15 (ระบบนิเวศบนบก)

● อ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง
ชวนสำรวจ SDG Profile 15 จังหวัดนำร่องของไทยพัฒนาได้ยั่งยืนแค่ไหน EP.1 (กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ – ภูเก็ต)
ชวนสำรวจ SDG Profile 15 จังหวัดนำร่องของไทยพัฒนาได้ยั่งยืนแค่ไหน EP.2 (เชียงราย – แม่ฮ่องสอน – ตาก)
 SDG Localization ความยั่งยืนระดับพื้นที่ จะนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนได้อย่างไร
 SDG Updates | Introduction to SDG Localization: มุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เริ่มจากระดับพื้นที่
 SDG Localization ความยั่งยืนระดับพื้นที่ จะนำไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนได้อย่างไร
 SDG Insights | ข้อจำกัดและการเสริมบทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ประเด็นดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ
#SDG1 ขจัดความยากจน
#SDG2 ขจัดความหิวโหย
#SDG3 สุขภาพเเละความเป็นอยู่ที่ดี
#SDG4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
#SDG5 ความเท่าเทียมทางเพศ
#SDG6 น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล
#SDG7 พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
#SDG8 งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
#SDG9 โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม เเละอุตสาหกรรม
#SDG10 ลดความเหลื่อมล้ำ
#SDG11 เมืองเเละชุมชนที่ยั่งยืน
#SDG12 การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
#SDG13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
#SDG14 ทรัพยากรทางทะเล
#SDG15 ระบบนิเวศบนบก
#SDG16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง
#SDG17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

แหล่งที่มา : SDG Profiles – 15 Pilot Provinces in Thailand (UNDP)

Author

  • Atirut Duereh

    Knowledge Communication | สนใจประเด็นสันติภาพ ความมั่นคงมนุษย์ เเละสิ่งเเวดล้อมทางทะเล ใช้ชีวิตโดยเชื่อในสมดุลมากกว่าความสมบูรณ์เเบบ

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นและรายละเอียดของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับและใช้เพื่อการพัฒนาการสื่อสารองค์ความรู้ของ SDG Move เท่านั้น
* หมายถึง ข้อมูลที่จำเป็น