เกี่ยวกับเรา

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นเป้าหมายการพัฒนา ที่นานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ลงนามและมีคํามั่นร่วมกันในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 เป้าหมายดังกล่าวเป็นการสานต่อเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหวรรษ (Millennium Development Goals: MDGs) ที่หมดอายุลงในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2557) ในขณะเดียวกันก็ เป็นการรับวาระด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนมาจากการประชุม Earth Summit ที่กรุง ริโอ เดอ จาเนโร ประเทศ บราซิล ในปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) เข้ามาประกอบด้วย นอกจากสหประชาชาติยังจัดให้มีการรับความ คิดเห็นจากผู้คนกลุ่มต่าง ๆ จากทั่วโลกผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อมาเป็นข้อมูลในการร่างเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืนอีกด้วย เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) จึงถือได้ว่าเป็นวาระการพัฒนาในระดับโลกที่สําคัญที่สุด วาระหนึ่ง และจะเริ่มดําเนินการตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2558) ไปจนถึงปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573)

ในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เป็นคณะกรรมการหลักในการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มี คณะอนุกรรมการอยู่ภายใต้ กพย. 3 คณะ ประกอบด้วย 1) อนุกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืน 2) อนุกรรมการส่งเสริมความเข้าใจและประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง และ 3) อนุกรรมการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีคณะทํางานย่อยอีก 3 คณะทํางาน คือ คณะทํางานที่ 1 รับผิดชอบการบูรณาการการดําเนินงานและจัดลําดับความสําคัญในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ ยั่งยืน คณะทํางานที่ 2 รับผิดชอบการจัดทํารายงานผลการดําเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และ คณะทํางานที่ 3 ปรับปรุงกลไกมาตรการด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมและกฎหมาย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

20170501-SDGM-0208 (สำเนา).jpg

ในการทําบรรลุภารกิจของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น มีความจําเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องมีหน่วยงานหนึ่งทําหน้าที่ในการประสานงานนักวิชาการที่ทํางานเกี่ยวข้องกับเป้าหมายต่าง ๆ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคเอกชนไม่แสวงหากําไร ให้ทํางานร่วมกันเพื่อบูรณาการการดําเนินงาน การขับเคลื่อนเป้าหมายต่าง ๆ เสนอแนะข้อปรับปรุงกลไกมาตรการด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมและกฎหมาย และติดตามผลการดําเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้คณะอนุกรรมการ ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเห็นว่าควรตั้ง “โครงการประสานงานการวิจัยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDG Move) ขึ้น โดยในปีที่ 1 นั้น เป้าหมายของศูนย์ประสานงาน SDG Move คือการ ดําเนินการประสานงาน สนับสนุนนักวิจัย และจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดทําข้อเสนอเกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้

1) การจัดลําดับความสําคัญ (Ranking) ของเป้าประสงค์ (Target) ของแต่ละ เป้าหมาย (Goal) และ ระหว่างเป้าหมายด้วยกันเอง

2) วิธีการ (Means) หรือจุดคานงัด (Tipping point) ในการบรรลุเป้าประสงค์และเป้าหมายการ พัฒนาที่ยั่งยืนแต่ละข้อ

3) การจัดทําตัวชี้วัด (Indicator) ในการประเมินการดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าประสงค์และเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน โดย ปรับปรุงหรือเพิ่มเติมตัวชี้วัด

4) การจัดทําแผนการบรรลุเป้าหมาย (Roadmap) ของแต่ละเป้าหมาย และบูรณาการแผนดังกล่าว

5) การจัดทําแนวทางในการประเมินและวัดผล (Measurement and Evaluation) การดําเนินการ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายนักวิชาการ ภาครัฐและภาคประชาชนผ่านการจัดเวที/เข้าร่วม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เวทีนโยบายและเวทีสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับ SDGs ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ ของ SDGs ในระดับสากล และทําการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ SDGs ให้กับภาค ส่วนต่าง ๆ ได้รับทราบอีกด้วย

20170501_164024

บุคลากรของเรา

Facebook ของเรา

Author